การพิจารณาขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงโดยสังเขป
Posted: 01/04/2025
บ่อยครั้งที่ได้รับคำถามจากลูกค้าที่ต้องการติดตั้งระบบดับเพลิงอาคารของเขาหรือโรงงานของเขาต้องใช้ปั๊มดับเพลิงขนาดเท่าไหร่และจำเป็นต้องมีปริมาณน้ำสำรองสำหรับระบบดับเพลิงมากเพียงไหนถึงจะไม่ขัดกับกฎหมาย
ไม่ใช่เรื่องงานเลยที่ผู้ใช้งานอาคารโดยทั่วไปจะสามารถเลือกขนาดปั๊มดับเพลิงได้เลยหากพิจารณาจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ยกตัวอาคารสูง* และ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ** ในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ข้อ18(5) ที่กล่าวว่า ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำรองต้องมีปริมาณการจ่ายไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อวินาที(ประมาณ 500 Gpm) สำหรับท่อยืนท่อแรก และไม่น้อยกว่า 15 ลิตรต่อวินาที(ประมาณ 250 Gpm) สำหรับท่อยืนแต่ละท่อที่เพิ่มขึ้นในอาคารหลังเดียวกันแต่รวมแล้วไม่จำเป็นต้องมากกว่า 95 ลิตรต่อวินาที(ประมาณ 1,500 Gpm) และสามารถส่งจ่ายน้ำสำรองได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที
ยกตัวอย่างอาคารสูงหมายเลข 1 ที่ต้องมีโถงบันไดหนีไฟอย่างน้อย 2 โถงที่มีทางออกไปยังภายนอกอาคาร โดยปกติจะทำการติดตั้งท่อส่งน้ำดับเพลิง(ท่อยืน)ที่ใช้กับตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงและระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงไปกับช่องงานระบบหรือโถงบันไดซึ่งท่อส่งน้ำดับเพลิงนั้นให้คิดซะว่าต้องสามารถส่งน้ำได้ 500 Gpm ส่วนท่อยืนส่วนที่เหลืออีก 250 Gpm ก็จะถูกใช้กับระบบตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงกับอีกโถงบันไดนึง จึงเป็นที่แน่นอนว่าปั๊มดับเพลิงของอาคารสูงหมายเลข 1 ต้องใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงอัตราจ่ายน้ำไม่น้อยกว่า 750 Gpm
ตัวอย่างที่ 2 อาคารสูงหมายเลข 2 ซึ่งเป็นอาคารสูงมีขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะมีโถงบันไดหนีไฟเป็น 10 ตำแหน่งที่นำผู้อพยพผู้ใช้อาคารออกไปสู่ภายนอก ปั๊มดับเพลิงของอาคารนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ปั๊มที่มีอัตราจ่ายน้ำดับเพลิงถึง 2,750 Gpm{500+(250x9)} โดยเราสสามารถเลือกปั๊มที่มีอัตราการจ่ายน้ำ 1,500 Gpm ตามที่กฎกระทรวงฉบับนี้ระบุได้เลย
บอกเล่าโดยปกติอาคารสูงจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ซึ่งเป็น พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อยไปจนถึงพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลางกลุ่มที่ 1 โดยอาคารที่กล่าวมานี้อาจะมีท่อยืนสำหรับส่งน้ำดับเพลิงที่อาจจะหลายตำแหน่งไปหน่อย ซึ่งหากทำการคำนวณทางวิศวกรรมสำหรับระบบตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงและระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงแล้วจะสามารถใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่มีอัตราจ่ายน้ำที่ 500 Gpm ได้ แต่เราก็อย่าไปขัดกับปริมาณตามที่กฎกระทรวงระบุไวจะดีกว่า
ตัวอย่างที่ 3 อาคารโรงงานหมายเลข 3 สมมุติว่าเป็นอาคารเดี่ยวมีขนาด 12,000 ตารางเมตร และ กำหนดให้เป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลางกลุ่มที่ 2 ติดตั้งระบบกระจายน้ำดับเพลิง และ ระบบตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงถายในอาคาร การหาขนาดปั๊มดับเพลิงของโรงงานนี้ให้เราเปิดเอกสาร ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4406 (พ.ศ. 2555) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และ มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท. 3002-51
โดยวิธีการหาขนาดปั๊มดับเพลิงก็จะมาพิจารณาจากตารางสปริงเกอร์และตารางการใช้น้ำตู้ดับเพลิงรวมกัน(กรอบและลูกศรสีแดง)
- ความต้องการใช้น้ำของระบบสปริงเกอร์ให้นำความหนาแน่นของน้ำ X พื้นที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงทำงาน แล้วนำมาคูณด้วย 20% = (1,500x0.2)+20% = 360 Gpm สำหรับระบบสปริงเกอร์ซึ่งค่าที่ให้เพิ่มอีก 20% นี้คือค่าแรงดันน้ำที่ทำให้หัวกระจายน้ำดับเพลิงแต่ละหัวที่ทำงานฉีดน้ำไม่เท่ากันแต่ต้องไม่น้อยกว่าความต้องการขั้นต่ำของระบบ
- ความต้องการใช้น้ำของสายฉีดน้ำดับเพลิงถายในอาคารตามตารางกำหนดคือ 100 Gpm
ตัวอย่างสุดท้าย อาคารโรงงานหมายเลข 4 มาดูเคสสุดโต่งสุดขอบตารางโดยกำหนดขนาดของโรงงาน 15,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายมากกลุ่มที่ 2 และ ยังมีอาคารสำนักงานอยู่ข้างๆ ในพื้นที่รั้วเดียวกัน พิจารณาจากตารางทั้ง 2 ด้านบน(กรอบและลูกศรสีน้ำเงิน)
- ความต้องการใช้น้ำของระบบสปริงเกอร์ให้นำความหนาแน่นของน้ำ X พื้นที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงทำงาน แล้วนำมาคูณด้วย 20% = (2,500x0.4)+20% = 1,200 Gpm
- ความต้องการใช้น้ำของสายฉีดน้ำดับเพลิงถายในอาคารตามตารางกำหนดคือ 500 Gpm โดยปกติหัวจ่ายน้ำดับเพลิงที่ใช้ภายนอกจะมีขนาด 2.5 นิ้ว และ อัตราจ่ายน้ำไม่เกิน 250 Gpm โดยจะทำการฉีดน้ำที่อาคารโรงงานสกัดกันการรามไฟไปยังอาคารสำนักงานและอีกชุดสำหรับฉีดที่เปลือกอาคารสำนักงานลดอุณหภูมิจากการแผ่รังสีของเพลิงไหม่จากโรงงาน
สรุปสุดท้ายแนวคิดที่นำเสนอสำหรับหาขนาดปั๊มดับเพลิงนี้เป็นเพียงการคำนวณโดยคร่าวๆและค่อนไปทางสูงกว่า ซึ่งโดยส่วนมากขนาดปั๊มจะไม่เล็กกว่า 1 ขนาดตามขนาดมาตรฐานของปั๊มดับเพลิง หากมีผู้มาเสนอขนาดปั๊มที่เล็กกว่า 2 ขนาด ก็แนะนำให้ขอเอกสารรายขอเขตการออกแบบและรายการคำนวณมาตรวจสอบก่อนตัดสินใจเลือกปั๊มกันนะ เลือกใหญ่กว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าเลือกเล็กกว่าก็จะมีปัญหาเกิดขึ้มมาภายหลังอย่างแน่นอน
*อาคารสูง หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของ ชั้นสูงสุด
**อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังชั้นเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
***พื้นที่ครอบครองอันตรายสามารถดูรายละเอียดในท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4406 (พ.ศ. 2555) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ
สรุตม์ สุขพรวรกุล